วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ไหว้ครู โขน ละคร



 

ความสำคัญของพิธีการไหว้ครูโขน ละคร
 พิธีไหว้ครู พิธีครอบครู ต่างกับพิธีไหว้ครูทั่วไป เป็นพิธีการยกย่องและอนุรักษ์ไว้เพราะครูเป็นผู้ที่ให้ความรู้ ความเฉลียวฉลาดในด้านศิลปวิทยาแก่ศิษย์ ครูจึงเป็นผู้ควรแก่การคารวะบูชา พิธี ไหว้ครูได้ถูกกำหนดระเบียบและบัญญัติวิธีไว้ให้ปฏิบัติกันมาด้วยหลักเกณฑ์อันดี เพื่อก่อให้เกิดศิริมงคลแก่ผู้เรียน
              พิธีการไหว้ครูโขนและละครในปัจจุบันส่วนใหญ่ดำเนินตามแบบแผนที่สืบทอดมาแต่โบราณก็แต่บางส่วน แม้จะแก้ไขเพิ่มเติมจุดประสงค์ในบางส่วนก็เพื่อการสร้างศรัทธายิ่งขึ้น   จากการสันนิษฐานของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ว่าการฟ้อนรำของไทยนั้นมีที่มาเป็น ๒ ทาง ทางที่ ๑ เกิดจากการที่มนุษย์ดัดแปลงการร่ายรำจากธรรมชาติ จนเป็นศิลปะที่สืบทอด กันมา ได้แก่ การแสดงพื้นเมืองต่าง ๆ อีกทางหนึ่งสันนิษฐานว่า ได้รับวัฒนธรรมจากอินเดีย ซึ่งบูชาเทพเจ้า
              ดังนั้นศิษย์นาฏศิลป์โขน ละคร จึงถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด และปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นประเพณี คือ ผู้ที่เรียนนาฏศิลป์ โขน ละคร จะต้องจัดพิธีไหว้ครูขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
๑. เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระคุณครู
๑.๑ ทำพิธีอัญเชิญครูมาในพิธี เพื่อให้ศิษย์กราบไหว้เป็นศิริมงคล
๑.๒ ตอบแทนพระคุณครู ด้วยการจัดหาเครื่องสังเวย เครื่องกระยาบวช เครื่องเซ่นตามลักษณะของครู
๑.๓ ให้ความบันเทิงแก่ครู เสมือนเป็นการทดสอบฝีมือ ด้วยการรำถวายมือ
๑.๔ โปรยข้าวตอกดอกไม้ ส่งครูเมื่อเสร็จพิธี
๒. เป็นการแสดงความเคารพครูด้วยการหาดอกไม้ ธูป เทียน บูชาครูเพื่อขอบารมีครูช่วยคุ้มครองศิษย์
๓. เป็นการมอบตัวเข้าเป็นศิษย์ ขอเป็นผู้สืบทอดศิลปะ
๔. เป็นพิธีประสิทธิ์ประสาทความสำเร็จการศึกษาชั้นสูงของการศึกษาวิชานาฏศิลป์ โขน ละคร
๕. เป็นวันรวมพลังความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของศิษย์นาฏศิลป์ทุกรุ่น ทุกระดับชั้น ที่พร้อมใจกันจัดพิธีเพื่ออัญเชิญครูมาให้ศิษย์คารวะและแสดงกตเวทิตา เป็นการน้อมจิตรำลึกพระคุณของครู
๖. เป็นการรักษาประเพณีอันดีงามให้คงอยู่
๗. เป็นการประกวดความเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมอันดีงามเป็นของตนเอง
              พิธีไหว้ครูโขน ละคร ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๔ ส่วน คือ ครูผู้กระทำพิธีไหว้ครู (ตัวแทนพระภรตฤษี) ศีรษะโขน (ตัวแทนครูโขน ละคร ) เครื่องสังเวย เครื่องเซ่น เครื่องกระยาบวช เครื่องบูชา และปี่พาทย์เครื่องใหญ่ หรือ ปี่พาทย์เครื่องคู่ การไหว้ครูนาฏศิลป์ โขน ละครนั้น มีพิธีถึง ๓ ขั้นตอน คือ พิธีไหว้ครู พิธีครอบครู และพิธีรับมอบ ทั้ง ๓ ขั้นตอนนี้ เป็นพิธีที่บูรพาจารย์ได้กำหนดระเบียบและบัญญัติแบบแผนให้ปฏิบัติด้วยหลักเกณฑ์อันดี สืบเนื่องมาแต่โบราณ โดยกำหนดว่า ครูผู้ใหญ่จะทำพิธีไหว้ครู พิธีครอบและพิธีมอบ ก็ต่อเมื่อศิษย์รำเพลงช้า เพลงเร็วได้แล้ว ถ้าศิษย์ศึกษาและ
              ปฏิบัติจนเกิดความชำนาญ มีความรู้แตกฉาน หมายถึงรำหน้าพาทย์ชั้นสูง ได้อย่างแม่นยำ สมควรที่จะเป็นตัวแทนของครู สืบทอดการอบรมสั่งสอนชนรุ่นหลังได้เข้าร่วมพิธีมอบอันเป็นพิธีต่อจากพิธีครอบ
              พิธีมอบนี้ เป็นพิธีที่ประกาศให้ศิษย์ทุกคนรู้ว่า ศิษย์ผู้นั้นมีความรู้ความสามารถสมควรเป็นครูโขนละครได้ เหมือนกับเป็นการเรียนจบหลักสูตรรับประทานปริญญาบัตรในปัจจุบันนี้ สิ่งที่ครูมอบความเป็นครูให้ก็คือ อาวุธที่ใช้ในการแสดงละคร โขน ทุกชนิด และบทละครมัดรวมกันส่งให้ศิษย์ และถ้าศิษย์คนใดมีความสามารถเหนือขึ้นไปอีก จนถึงระดับผู้เชี่ยวชาญและต้องเป็นศิลปินชายที่แสดงเป็นตัวพระคือ พระราม ต้องเป็นผู้ที่มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่เสพของมึนเมาเป็นอาจิณ บวชเรียนแล้ว และเป็นที่ ยกย่องของคนทั่วไป โดยเฉพาะในหมู่ศิลปินด้วยกัน ครูผู้ใหญ่ก็จะมอบ และประสิทธิ์ประสาท ให้เป็นตัวแทนของครู หมายถึงเป็นผู้ ที่สามารถกระทำพิธีไหว้ครูได้ ครอบครู และพิธีมอบ ได้ ศิลปินที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้กระทำพีไหว้ครู จะได้รับมอบตำราไหว้ครู ถึงแม้ว่าจะมีตำราไหว้ครูไว้ในครอบครองก็จะกระทำได้เพียงพิธีไหว้ครูเท่านั้น จะทำพิธีครอบและพิธีรับมอบไม่ได้
              หลักเกณฑ์แต่โบราณไม่นิยมให้ลิง ยักษ์ นาง เป็นผู้ประกอบพิธี เหตุที่ไม่นิยมเพราะ ถ้าแสดงเป็นตัวลิง เขาถือว่าเป็นสัตว์เดรัจฉาน ถ้าแสดงเป็นตัวยักษ์ ถือว่าเป็นมาร ถ้าเป็นตัวนางถือว่าเป็นอิตถีเพศ ถ้าเป็นตัวพระถือว่าเป็นเทพเจ้า ดังนั้นการรับถ่ายทอดวิชาไหว้ครูนี้ตั้งแต่โบราณมาก็มักจะตกอยู่กับผู้แสดงเป็นตัวพระทั้งนั้น
              ระเบียบของการจัดพิธีไหว้ครูนั้นมีข้อกำหนดว่า ให้กระทำพิธีขึ้นได้เฉพาะในวันพฤหัสบดี เที่ยงวันเท่านั้น เพราะนับถือกันว่าวันพฤหัสบดีเป็นวันครู เดือนซึ่งนิยมประกอบพิธีตามโบราณ นิยมก็กำหนดให้ประกอบพีธีในเดือนคู่ เช่นเดือน ๖,๘,๑๐,๑๒,๒ และเดือน ๔ แต่มีข้อยกเว้น เดือนคี่อยู่เดือนเดียวคือเดือน ๙ เช่นเดียวกับกำหนด เดือนมงคลสมรสแต่งงานอนุโลมให้จัดพิธีได้ เหตุที่ใช้เดือนคู่นั้น เพราะถือว่าเดือนคู่เป็นเดือนมงคล ส่วนเดือนคี่นั้นเป็นเศษที่อนุโลมให้ทำพีธีในเดือน ๙ ได้นั้น ถือว่าเลข ๙ เป็นเลขมงคลของไทยสืบมา
              ในบางครั้งโบราณ ยังนิยมว่าจะต้องระบุทางจันทรคติเพิ่มขึ้นอีกด้วย เช่น เมื่อเลือกได้วันพฤหัสบดีแล้ว จะต้องพิจารณาอีกว่า ตรงกับวันขึ้นแรมข้างใด ถ้าได้เป็นวันพฤหัสบดีข้างขึ้นก็นับว่าเป็นมงคลยิ่งเพราะข้างขึ้นถือว่าเป็น ” วันฟู ” ข้างแรมเป็น “ วันจม ” การประกอบพิธีนิยมวันข้างขึ้นซึ่งเป็นวันฟูเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรืองนั่นเอง
              เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา ในการประกอบพิธีจะต้องเริ่มพิธีสงฆ์ก่อนเพื่อเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าก่อนทุกครั้ง ดังนั้นการจัดสถานที่จึงนิยมตั้งที่บูชาพระพุทธรูปไว้ส่วนหนึ่ง หรือถ้าต้องการที่จะอัญเชิญพระพุทธรูปมาตั้งรวม ก็ให้ตั้งพระพุทธไว้สูงสุดในมณฑลพิธีแม้ว่าจะไม่ อัญเชิญพระพุทธรูปออกตั้งเป็นประธานในการประกอบพิธี ก็จะต้องเริ่มต้นกล่าวนมัสการคุณพระรัตนตรัยก่อนเสมอ
              สำหรับเครื่องสังเวยจัดเป็นคู่ มีทั้งของสุกและดิบ ของดิบตั้งไว้ทางที่บูชาฝ่ายอสูร (ด้านซ้าย) ส่วนของสุกเป็นของเทพและฝ่ายมนุษย์(ด้านขวา) การจัดสถานที่จัดเป็น ๒ เขต คือ สำหรับ ประกอบพิธีสงฆ์ ซึ่งประกอบด้วยโต๊ะหมู่บูชา ประดิษฐานพระพุทธรูป ฯลฯ ส่วนที่ประกอบพิธีไหว้ครู จะจัดโต๊ะหมู่เป็น ๓ หมู่ คือ โต๊ะครูฝ่ายเทพอยู่กลาง ครูฝ่ายมนุษย์อยู่ทางขวา ครูฝ่ายยักษ์อยู่ ทางซ้าย ส่วนเครื่องดนตรีจะจัดโต๊ะต่ำ ๆ ปูผ้าขาววางเครื่องดนตรีทุกชิ้น ตั้งที่นั่งผู้ประกอบพิธี (เจ้าพิธี) ปูลาดด้วยผ้าหรือหนังสือ วางพานข้าวตอก ดอกไม้ ธูป เทียน กระแจะจันทร์ มาลัย วางพาน ตำรับโองการ บาตรน้ำมนต์ ไม้เท้า จัดที่สำหรับวงดนตรีปี่พาทย์ให้ไว้ทางขวาหรือทางซ้ายของครูก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสม
              วงปี่พาทย์ตั้งอยู่ทางซ้ายมือหรือขวามือก็ได้ เพื่อบรรเลงหน้าพาทย์สำคัญ ตามที่ครูผู้ประกอบพิธีเรียกให้บรรเลง หน้าตะโพนในวงปี่พาทย์จะลาดผ้าขาววางขันกำนล ๘ ขัน (ในขันกำนล ประกอบด้วยเงิน ๑๒ บาท ดอกไม้ ธูป เทียน และผ้าขาว) ครบตามจำนวนผู้บรรเลงและมีผ้าขาวยาว ๓ เมตร
              เริ่มพิธีไหว้ครู ครูผู้เป็นประธานประกอบพิธี (นุ่งห่มผ้าขาว) สมมติเป็นพราหมณ์ผู้ทรงศีลถือสังข์เดินถอยออกไปอยู่ที่ปลายผ้าขาวที่ปูลาดหันหน้าเข้าหาที่บูชาเรียกหน้าพาทย์เพลง พราหมณ์เข้ามารำเข้ามาในพิธีท้ายเพลงหมุนตัวไปโดยรอบรดน้ำสังข์ (มีความหมายว่าพราหมณ์ผู้ทรงศีล เป็นผู้เข้ามามาประกอบพิธี ส่วนการรดน้ำสังข์ไปโดยรอบนั้น เท่ากับเป็นการอธิษฐานกำหนดใช้สถานที่นี้ประกอบ จากนั้นขึ้นไปนั่งบนตั่งที่หน้าบูชา)
              ประธานในงาน เชิญเข้ามาจุดเทียนทอง (ด้านขวา) เทียน (ด้านซ้าย) และเทียนชัยที่ตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างเทียนทอง – เงิน จุดธูปบูชา ๙ ดอกแล้วเชิญกลับไปที่พักในที่สมควร
              ประธานผู้ประกอบพิธี จุดธูป ๙ ดอก (บางครั้งใช้ ๓๖ ดอก เท่าจำนวนกำนล) กราบ ๓ หน เริ่มบูชาพระรัตนตรัยแล้วชุมนุมเทวดา
  สำหรับคาถาสำหรับผู้ที่เป็นเจ้าพิธีจะใช้ท่องในพิธีครอบครู ตอนที่นำเศรียรของครูคือ พ่อแก่ เทริด พระพิราพ มาครอบให้กับบรรดาศิษยานุศิษย์ เพื่อเป็นศิริมงคล
              คาถามงกุฏพระเจ้า “ อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนาพุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ ”
เมื่อท่านอ่านแล้วท่านมีความคิดเห็นอย่างไรครับ
             เอกสารอ้างอิง หนังสือไหว้ครู โขน – ละคอน ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์
วิทยาลัยครูสวนสุนันทา
กฤษณา พันธุ์มวานิช
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

ภาพไทยๆ

 

 

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แผนการสอน ม.3

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  ชั้น  มัธยมศึกษาปีที่ 3
หน่วยการเรียนรู้ที่  1  โครงสร้างบทละคร
แผนการเรียนรู้ที่  1
ตัวชี้วัด
1.วิเคราะห์โครงสร้างของบทละครไทย
2.วิเคราะห์ความหมายและประเภทของบทละครและศัพท์ทางการละคร
3.วิเคราห์ลักษณะและนิสัยของตัวละคร
4.อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวละครในบทละครกับชีวิตจริงในสถานะการณ์ปัจจุบัน
5.ใฝ่เรียนรู้
6.มุ่งมั่นในการทำงาน
เนื้อหาสาระ   
1.โครงสร้างของบทละครไทย
2.ความหมายและประเภทของบทละครไทย
3. ศัพท์ทางการละคร
4. ลักษณะและนิสัยของตัวละคร
5. อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวละครในบทละครกับชีวิตจริงในสถานการณ์ปัจจุบัน

การบูรณาการกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1.ความพอเพียง
                                1.1  ความพอประมาณ
- ใช้เวลาในการศึกษาโครงสร้างของบทละครไทย
                                1.2  ความมีเหตุผล
- ยอมรับบทบาทสมมุติที่ศึกษาว่ามาจากเรื่องในชีวิตจริง
                                                - ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
                                                - บอกศัพท์ทางการละคร
                                                - โครงเรื่องเป็นการเล่าเรื่องแบบใหน
                                1.3 การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
                                                - นำทักษะการดำรงค์ชีวิตของตัวละครที่ดีไปใช้ในชีวิตประจำวัน
2. คุณธรรมกำกับความรู้
                                2.1 เงื่อนไขคุณธรรม
                                                - ความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม
                                                - ความสามัคคีภายในกลุ่ม
                                - ใฝ่รู้ใฝ่เรียน
- มุ่งมั่นในการทำงาน
- ชื่นชมเห็นคุณค่าของบทละครไทย
                                2.2. เงื่อนไขความรู้
                                                - ศึกษาโครงสร้างของบทละครไทย
                                                - จำแนกประเภทของละคร
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ( ใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบหน่วย )
ขั้นนำ
 1. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนจำนวน  10  ข้อ
 2. ขั้นนำเข้าสู่หน่วย  : ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับละครไทยที่นักเรียนเคยดูตามหัวข้อต่อไปนี้
                2.1.  นักเรียนเคยดูละครเรื่องใดบ้าง
                2.2.  ละครที่ดูเป็นละครประเภทใด
                2.3.  ตัวละครที่ดูในเรื่องมีตัวละครใดบ้าง
 3.  ขั้นวางแผนร่วมกันในการปฏิบัติกิจกรรม
                3.1. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม ๆ ละ  4  คน แต่ละกลุ่มประกอบด้วยนักเรียนเก่ง  ปานกลางและอ่อนตามสัดส่วน  1:2:1
                3.2  ครูนักเรียนร่วมกันกำหนดความมุ่งหมายของการเรียนรู้ซึ่งนักเรียนจะเรียนรู้กี่ยวกับ
                                3.2.1.  โครงสร้างของบทละครไทย
                                3.2.2.  ความหมายและประเภทของบทละครไทย
                                3.2.3.  ศัพท์ทางการละคร
                                3.2.4  ลักษณะและนิสัยของตัวละคร
                                3.2.5  อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวละครในบทละครกับชีวิตจริงในสถานการณ์ปัจจุบัน
                3.3  ครูและนักเรียนช่วยกันตั้งปัญหาดังนี้
                                3.3.1. บทละครหมายถึงอะไรและแบ่งเป็นกี่ประเภท
                                3.3.2. โครงสร้างของบทละครไทยมีอะไรบ้าง
                                3.3.3. ศัพท์ทางการละครมีอะไรบ้าง
                                3.3.4. ตัวละครแต่ละตัวมีลักษณะนิสัยอย่างไรบ้าง
                3.4  แบ่งหัวข้อปัญหาและเสนอสื่อการสอนที่จะใช้ในการแก้ปัญหาให้นักเรียนแต่ละกลุ่มไปศึกษาดังนี้
                กลุ่มที่  1  ศึกษาเรื่องความหมายของบทละครและประเภทของบทละครไทยโดยศึกษาจากหนังสือสาระนุกรมไทยสำหรับเยาวชน หนังสือแบบเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี – นาฏศิลป์ )  ใบความรู้ความหมายของบทละครและประเภทของบทละครไทย ในห้องสมุด หรือค้นหาทาง Internet  
                กลุ่มที่  2  ศึกษาโครงสร้างของบทละครว่ามีอะไรบ้างโดยศึกษาจากสาระนุกรมไทยสำหรับเยาวชน หนังสือแบบเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี – นาฏศิลป์ )  ใบความรู้โครงสร้างของบทละคร
 ในห้องสมุด หรือค้นหาทาง Internet  ( www.google.com )
                กลุ่มที่  3 ศึกษาเรื่องศัพท์ที่ใช้ว่ามีอะไรบ้างโดยให้นักเรียนไปเลือกอ่านบทละครที่นักเรียนชื่นชอบ  1-2 เรื่องจากหนังสือวรรณคดีไทยหรือหนังสือที่เป็นเรื่องเฉพาะบทละครเรื่องนั้น ๆ หรือค้นหาทาง Internet  ( www.google.com )หรือสัมภาษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น 
                กลุ่มที่  4 ศึกษาลักษณะนิสัยของตัวละครโดยให้นักเรียนเลือกอ่านบทละครที่นักเรียนชื่นชอบ1-2 เรื่องจากหนังสือวรรณคดีไทยหรือหนังสือที่เป็นเรื่องเฉพาะบทละครเรื่องนั้น ๆ แล้ววิเคราะห์ลักษณะนิสัยของตัวละครในเรื่องนั้นๆ
                4. ขั้นลงมือทำงาน
                                แต่ละกลุ่มสำรวจและรวบรวมความรู้ต่าง ๆ ตามหัวข้อที่ได้รับจากห้องสมุดหรือแหล่งเรียนร้อื่น ๆ ที่กำหนดและบันทึกผลการปฏิบัติงานลงในใบงานที่  1  แบบบันทึกผลการศึกษา
                5. ขั้นเสนอกิจกรรม : แต่ละกลุ่มนำเสนอกิจกรรมตามหัวข้อที่ได้รับดังนี้
                                5.1. รายงานผลการปฏิบัติงานด้วยวาจาทีละกลุ่ม ๆ ละไม่เกิน 3 นาทีและให้ผู้ฟังซักถามและเสนอแนะเพิ่มเติม
                                5.2  นำผลการรายงานที่ปรับปรุงแล้วไปจัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
6. ขั้นสรุป
ขั้นประเมินผล : นักเรียนทุกคนร่วมกันอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวละครในบทละครกับชีวิตจริงในสถานการณ์ปัจจุบันว่าเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไรพร้อมระบุเหตุผลและยกตัวอย่างประกอบแล้วสรุกผลการอภิปรายเขียนเป็นรายงานส่งครูละ  1 ชิ้นงาน
   ครูให้นักเรียนสรุปข้อเปรียบเทียบโครงสร้างบทละครไทยกับละครโทรทัศน์ลงในกระดาษว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
              1. หนังสือสาระนุกรมไทยสำหรับเยาวชน
2. หนังสือแบบเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี – นาฏศิลป์ ) ชั้น  .3
                3. หนังสือวรรณคดีไทย
                4. หนังสือที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับบทละครโดยเฉพาะ
                5. ใบความรู้โครงสร้างของบทละคร
                6. Internet  ( www.google.com )
                7. ห้องสมุดโรงเรียน
                8. ภูมิปัญญาท้องถิ่น
                9. ใบงานที่  1  แบบบันทึกผลการศึกษา
การวัด/ประเมินผล
                1. แบบทดสอบการวิเคราะห์โครงสร้างของบทละคร
2. แบบทดสอบการวิเคราะห์ความหมายและประเภทของบทละคร
3. แบบทดสอบการวิเคราะห์ศัพท์ทางการละคร
4. แบบทดสอบการวิเคราะห์ลักษณะและนิสัยของตัวละคร
5. แบบประเมินความสามารถในการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวละครในบทละครกับชีวิตจริงในสถานะการณืปัจจุบัน
6. แบบวัดคุณลักษณะการใฝ่เรียนรู้
7. แบบวัดคุณลักษณะความมุ่งมั่นในการทำงาน
กิจกรรเสนอแนะ
…………………………………………………………………………………….…………
………………………………………………………………………………………………
บันทึกหลังสอน
……………………………….......………………………………………………………..

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แผนการสอน ม.2


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ    รายวิชา    นาฏศิลป์  
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่    2
ภาคเรียนที่  1      ปีการศึกษา   2555                                               
เรื่อง นาฏยศัพท์
 1.สาระสำคัญ 
นาฏยศัพท์คือศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อของท่ารำที่ในวงการนาฏศิลป์เพื่อกำหนดชื่อท่ารำให้มีความเข้าใจที่ตรงกันนาฏยศัพท์แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือนาฏยศัพท์ส่วนมือ  และนาฏยศัพท์ส่วนเท้า   ซึ่งเป็นท่ารำพื้นฐานของการรำทุกเพลงเช่น   ท่าตั้งวง   ท่าจีบ   ท่าล่อแก้ว  ท่าซอยเท้า  ท่าประเท้า  ท่ากระดกเท้า  ท่ากระทุ้งเท้าซึ่งท่าเหล่านี้มีอยู่ในการแสดง      ทุกเพลง
 2. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                                 สืบค้นข้อมูล  อภิปรายและอธิบายความหมายของนาฏยศัพท์
 3. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
                                เมื่อนักเรียน เรียนรู้ควมหมายของนาฏยศัพท์แล้ว นักเรียนสามารถ
                                1. บอกความหมายของนาฏยศัพท์ได้
                                2. บอกชื่อท่านาฏยศัพท์ส่วนมือได้
                                3.  บอกชื่อท่านาฏยศัพท์ส่วนเท้าได้
                                4.  นำท่านาฏยศัพท์มือประดิษฐ์ท่าระประกอบเพลงได้
 4. เนื้อหาสาระ
                                ความหมายของนาฏยศัพท์ส่วนเท้า
 5. กิจกรรมการจัดการเรียนรู้

                5.1 ขั้นนำ
ครูทำท่ารำให้นักเรียนดูและถามนักเรียนเคยว่ารู้จักท่ารำนี้หรือไม่มีชื่อว่าท่าใด
แนวตอบ   ประเท้า   ยกเท้า

 5.2 ขั้นสอน
ครูอธิบายความหมายของนาฏยศัพท์ให้นักเรียนฟังอีกครั้งพร้อมกับคำถามและให้นักเรียนช่วยกันบอกชื่อของท่ารำส่วนมือที่เรียนไปแล้วจากนั้นครูอธิบายและสาธิตท่ารำส่วนเท้า ให้นักเรียนรู้จักส่วนของเท้าทั้ง 3ส่วนคือนิ้วเท้า  จมูกเท้า และส้นเท้าที่จำเป็นสำหรับการทำนาฏยศัพท์ส่วนเท้าให้นักเรียนดู จากนั้นให้ดูใบความรู้ประกอบว่ามีท่าใดบ้างแล้วให้นักเรียนปฏิบัติตามครูทีละท่าของส่วนเท้า จนชำนาญพร้อมครูคือ  ท่าประเท้า   ยกเท้า   ก้าวเท้า  เปิดส้นเท้า  กระทุ้งเท้า    กระดกเท้า    จรดเท้า   ซอยเท้า  และครูคอยแนะนำท่าที่ถูกต้องให้กับนักเรียนโดยเฉพาะระดับ ของเท้าที่ยก  ตำแหน่งของการก้าวเท้าการย่อ  การทรงตัวเวลากระดกเพื่อให้ได้ท่ารำที่ถูกต้องสวยงาม
                5.3 ขั้นสรุป
1.       ครูซุ่มเรียกถามความหมายของนาฏยศัพท์ว่าคืออะไร
2.       ครูให้นักเรียนปฏิบัติท่ารำส่วนเท้าตามคำสั่ง
3.       นักเรียนทำใบงานสรุปความรู้เรื่องนายศัพท์ส่วนเท้า
 6. สื่อและแหล่งการเรียนรู้
                6.1 สื่อการเรียนรู้
1. ใบความรู้
2. สมุด
3. ท่ารำส่วนเท้า
                6.2 แหล่งการเรียนรู้
                1. อินเทอร์เน็ต
                2. หนังสือเรียนดนตรี - นาฏศิลป์  มัธยมศึกษาปีที่  2
 7. การวัดผลประเมินผล
                7.1 การสังเกตจากแบบบันทึกการสังเกต
                7.2 จากการตอบคำถาม
 8. วิธีการสอน/รูปแบบการสอน/กระบวนการเรียนรู้ที่ใช้
                1. การสอนโดยใช้การอภิปราย
                2. การศึกษาด้วยตนเอง

แผนการสอน ม.2


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  รายวิชานาฏศิลป์                     
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่    2
ภาคเรียนที่  1      ปีการศึกษา   2555     
เรื่อง ประวัตินาฏศิลป์ไทย

1.สาระสำคัญ 
       นาฏศิลป์ไทยเกิดจากการแสดงของชาวบ้านซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่ทรงคูณค่าแฝงไปด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นของแต่ละภาคเกิดจากการเคลื่อนไหวร่างกายแขนขาไปตามจังหวะนาฏศิลป์ไทยแบ่งประเภทการแสดงออกเป็น  ประเภทคือ  รำ  ระบำ  ฟ้อน เซิ้ง    โขน และละคร ซึ่งแต่ละประเภทจะมีความงดงามต่างกันไปตามหลักของการแสดงและประเภทของการแสดง
2. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
      สืบค้นข้อมูล  อภิปรายและอธิบายความหมายและประเภทการแสดงนาฏศิลป์ไทย
3. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
      เมื่อนักเรียน เรียนรู้ประเภทการแสดงนาฏศิลป์ไทยแล้ว นักเรียนสามารถ
                1. บอกประวัติที่มาของการแสดงนาฏศิลป์ไทยได้
                2. บอกประเภทของการแสดงนาฏศิลป์ไทยได้
                3. ยกตัวอย่างชุดการแสดงตามประเภทได้
4. เนื้อหาสาระ
                  ประวัติและ ประเภทการแสดงนาฏศิลป์ไทย
5. กิจกรรมการจัดการเรียนรู้
        5.1 ขั้นนำ
              ครูถามนักเรียนว่าเคยชมการแสดงนาฏศิลป์หรือไม่และต่างจากการแสดงเต้นทั่วไปตรงไหน
แนวตอบ   การแสดงนาฏศิลป์มีท่าที่อ่อนช้อยสวยงาม      การเต้นมีจังหวะสนุกสนานเต้นตามใจ
        5.2 ขั้นสอน
              ครูอธิบายประวัตินาฏศิลป์ไทยและประเภทของการแสดงนาฏศิลป์ไทยให้นักเรียนฟังทั้ง  6  ประเภทพร้อมกับยกตัวอย่างการแสดงของแต่ละประเภทให้เพื่อความเข้าใจโดยเริ่มจากประเภท  รำ   ระบำ   ฟ้อน   เซิ้ง  โขน  และละคร ซึ่งแต่ละประเภทยังแบ่งประเภทย่อยๆ อีกตามประเภทของตนเอง โดยให้นักเรียนจดเพิ่มเติมลงในสมุด พร้อมตัวอย่างประกอบคำอธิบายเพื่อนักเรียนจะได้เข้าใจมากยิ่งขึ้นจากนั้นครูให้นักเรียนจับกลุ่มทำรายงานประเภทของการแสดงมากลุ่มละ  1 เรื่อง เพื่อมารายงานหน้าชั้นเรียนจะได้ทราบข้อมูลมากยิ่งขึ้นในแต่ละประเภท
          5.3 ขั้นสรุป
 1.   ครูให้นักเรียนบอกประวัติของการแสดงนาฏศิลป์ไทย
 2.   ครูให้นักเรียนยกตัวอย่างประเภทของการแสดงนาฏศิลป์ไทย
 3.   นักเรียนทำรายงานมาส่งเป็นกลุ่ม
 6. สื่อและแหล่งการเรียนรู้
                6.1 สื่อการเรียนรู้
1. ประเภทการแสดงนาฏศิลป์ไทย
2. สมุด
3.  รายงาน
                6.2 แหล่งการเรียนรู้
                1. อินเทอร์เน็ต
                2. หนังสือเรียนดนตรี - นาฏศิลป์  มัธยมศึกษาปีที่  2
 7. การวัดผลประเมินผล
                7.1 การสังเกตจากแบบบันทึกการสังเกต
                7.2 จากการตอบคำถาม
 8. วิธีการสอน/รูปแบบการสอน/กระบวนการเรียนรู้ที่ใช้
                1. การสอนโดยใช้การอภิปราย
                2. การศึกษาด้วยตนเอง