วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แผนการสอน ม.3

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  ชั้น  มัธยมศึกษาปีที่ 3
หน่วยการเรียนรู้ที่  1  โครงสร้างบทละคร
แผนการเรียนรู้ที่  1
ตัวชี้วัด
1.วิเคราะห์โครงสร้างของบทละครไทย
2.วิเคราะห์ความหมายและประเภทของบทละครและศัพท์ทางการละคร
3.วิเคราห์ลักษณะและนิสัยของตัวละคร
4.อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวละครในบทละครกับชีวิตจริงในสถานะการณ์ปัจจุบัน
5.ใฝ่เรียนรู้
6.มุ่งมั่นในการทำงาน
เนื้อหาสาระ   
1.โครงสร้างของบทละครไทย
2.ความหมายและประเภทของบทละครไทย
3. ศัพท์ทางการละคร
4. ลักษณะและนิสัยของตัวละคร
5. อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวละครในบทละครกับชีวิตจริงในสถานการณ์ปัจจุบัน

การบูรณาการกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1.ความพอเพียง
                                1.1  ความพอประมาณ
- ใช้เวลาในการศึกษาโครงสร้างของบทละครไทย
                                1.2  ความมีเหตุผล
- ยอมรับบทบาทสมมุติที่ศึกษาว่ามาจากเรื่องในชีวิตจริง
                                                - ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
                                                - บอกศัพท์ทางการละคร
                                                - โครงเรื่องเป็นการเล่าเรื่องแบบใหน
                                1.3 การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
                                                - นำทักษะการดำรงค์ชีวิตของตัวละครที่ดีไปใช้ในชีวิตประจำวัน
2. คุณธรรมกำกับความรู้
                                2.1 เงื่อนไขคุณธรรม
                                                - ความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม
                                                - ความสามัคคีภายในกลุ่ม
                                - ใฝ่รู้ใฝ่เรียน
- มุ่งมั่นในการทำงาน
- ชื่นชมเห็นคุณค่าของบทละครไทย
                                2.2. เงื่อนไขความรู้
                                                - ศึกษาโครงสร้างของบทละครไทย
                                                - จำแนกประเภทของละคร
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ( ใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบหน่วย )
ขั้นนำ
 1. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนจำนวน  10  ข้อ
 2. ขั้นนำเข้าสู่หน่วย  : ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับละครไทยที่นักเรียนเคยดูตามหัวข้อต่อไปนี้
                2.1.  นักเรียนเคยดูละครเรื่องใดบ้าง
                2.2.  ละครที่ดูเป็นละครประเภทใด
                2.3.  ตัวละครที่ดูในเรื่องมีตัวละครใดบ้าง
 3.  ขั้นวางแผนร่วมกันในการปฏิบัติกิจกรรม
                3.1. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม ๆ ละ  4  คน แต่ละกลุ่มประกอบด้วยนักเรียนเก่ง  ปานกลางและอ่อนตามสัดส่วน  1:2:1
                3.2  ครูนักเรียนร่วมกันกำหนดความมุ่งหมายของการเรียนรู้ซึ่งนักเรียนจะเรียนรู้กี่ยวกับ
                                3.2.1.  โครงสร้างของบทละครไทย
                                3.2.2.  ความหมายและประเภทของบทละครไทย
                                3.2.3.  ศัพท์ทางการละคร
                                3.2.4  ลักษณะและนิสัยของตัวละคร
                                3.2.5  อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวละครในบทละครกับชีวิตจริงในสถานการณ์ปัจจุบัน
                3.3  ครูและนักเรียนช่วยกันตั้งปัญหาดังนี้
                                3.3.1. บทละครหมายถึงอะไรและแบ่งเป็นกี่ประเภท
                                3.3.2. โครงสร้างของบทละครไทยมีอะไรบ้าง
                                3.3.3. ศัพท์ทางการละครมีอะไรบ้าง
                                3.3.4. ตัวละครแต่ละตัวมีลักษณะนิสัยอย่างไรบ้าง
                3.4  แบ่งหัวข้อปัญหาและเสนอสื่อการสอนที่จะใช้ในการแก้ปัญหาให้นักเรียนแต่ละกลุ่มไปศึกษาดังนี้
                กลุ่มที่  1  ศึกษาเรื่องความหมายของบทละครและประเภทของบทละครไทยโดยศึกษาจากหนังสือสาระนุกรมไทยสำหรับเยาวชน หนังสือแบบเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี – นาฏศิลป์ )  ใบความรู้ความหมายของบทละครและประเภทของบทละครไทย ในห้องสมุด หรือค้นหาทาง Internet  
                กลุ่มที่  2  ศึกษาโครงสร้างของบทละครว่ามีอะไรบ้างโดยศึกษาจากสาระนุกรมไทยสำหรับเยาวชน หนังสือแบบเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี – นาฏศิลป์ )  ใบความรู้โครงสร้างของบทละคร
 ในห้องสมุด หรือค้นหาทาง Internet  ( www.google.com )
                กลุ่มที่  3 ศึกษาเรื่องศัพท์ที่ใช้ว่ามีอะไรบ้างโดยให้นักเรียนไปเลือกอ่านบทละครที่นักเรียนชื่นชอบ  1-2 เรื่องจากหนังสือวรรณคดีไทยหรือหนังสือที่เป็นเรื่องเฉพาะบทละครเรื่องนั้น ๆ หรือค้นหาทาง Internet  ( www.google.com )หรือสัมภาษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น 
                กลุ่มที่  4 ศึกษาลักษณะนิสัยของตัวละครโดยให้นักเรียนเลือกอ่านบทละครที่นักเรียนชื่นชอบ1-2 เรื่องจากหนังสือวรรณคดีไทยหรือหนังสือที่เป็นเรื่องเฉพาะบทละครเรื่องนั้น ๆ แล้ววิเคราะห์ลักษณะนิสัยของตัวละครในเรื่องนั้นๆ
                4. ขั้นลงมือทำงาน
                                แต่ละกลุ่มสำรวจและรวบรวมความรู้ต่าง ๆ ตามหัวข้อที่ได้รับจากห้องสมุดหรือแหล่งเรียนร้อื่น ๆ ที่กำหนดและบันทึกผลการปฏิบัติงานลงในใบงานที่  1  แบบบันทึกผลการศึกษา
                5. ขั้นเสนอกิจกรรม : แต่ละกลุ่มนำเสนอกิจกรรมตามหัวข้อที่ได้รับดังนี้
                                5.1. รายงานผลการปฏิบัติงานด้วยวาจาทีละกลุ่ม ๆ ละไม่เกิน 3 นาทีและให้ผู้ฟังซักถามและเสนอแนะเพิ่มเติม
                                5.2  นำผลการรายงานที่ปรับปรุงแล้วไปจัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
6. ขั้นสรุป
ขั้นประเมินผล : นักเรียนทุกคนร่วมกันอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวละครในบทละครกับชีวิตจริงในสถานการณ์ปัจจุบันว่าเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไรพร้อมระบุเหตุผลและยกตัวอย่างประกอบแล้วสรุกผลการอภิปรายเขียนเป็นรายงานส่งครูละ  1 ชิ้นงาน
   ครูให้นักเรียนสรุปข้อเปรียบเทียบโครงสร้างบทละครไทยกับละครโทรทัศน์ลงในกระดาษว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
              1. หนังสือสาระนุกรมไทยสำหรับเยาวชน
2. หนังสือแบบเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี – นาฏศิลป์ ) ชั้น  .3
                3. หนังสือวรรณคดีไทย
                4. หนังสือที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับบทละครโดยเฉพาะ
                5. ใบความรู้โครงสร้างของบทละคร
                6. Internet  ( www.google.com )
                7. ห้องสมุดโรงเรียน
                8. ภูมิปัญญาท้องถิ่น
                9. ใบงานที่  1  แบบบันทึกผลการศึกษา
การวัด/ประเมินผล
                1. แบบทดสอบการวิเคราะห์โครงสร้างของบทละคร
2. แบบทดสอบการวิเคราะห์ความหมายและประเภทของบทละคร
3. แบบทดสอบการวิเคราะห์ศัพท์ทางการละคร
4. แบบทดสอบการวิเคราะห์ลักษณะและนิสัยของตัวละคร
5. แบบประเมินความสามารถในการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวละครในบทละครกับชีวิตจริงในสถานะการณืปัจจุบัน
6. แบบวัดคุณลักษณะการใฝ่เรียนรู้
7. แบบวัดคุณลักษณะความมุ่งมั่นในการทำงาน
กิจกรรเสนอแนะ
…………………………………………………………………………………….…………
………………………………………………………………………………………………
บันทึกหลังสอน
……………………………….......………………………………………………………..

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แผนการสอน ม.2


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ    รายวิชา    นาฏศิลป์  
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่    2
ภาคเรียนที่  1      ปีการศึกษา   2555                                               
เรื่อง นาฏยศัพท์
 1.สาระสำคัญ 
นาฏยศัพท์คือศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อของท่ารำที่ในวงการนาฏศิลป์เพื่อกำหนดชื่อท่ารำให้มีความเข้าใจที่ตรงกันนาฏยศัพท์แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือนาฏยศัพท์ส่วนมือ  และนาฏยศัพท์ส่วนเท้า   ซึ่งเป็นท่ารำพื้นฐานของการรำทุกเพลงเช่น   ท่าตั้งวง   ท่าจีบ   ท่าล่อแก้ว  ท่าซอยเท้า  ท่าประเท้า  ท่ากระดกเท้า  ท่ากระทุ้งเท้าซึ่งท่าเหล่านี้มีอยู่ในการแสดง      ทุกเพลง
 2. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                                 สืบค้นข้อมูล  อภิปรายและอธิบายความหมายของนาฏยศัพท์
 3. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
                                เมื่อนักเรียน เรียนรู้ควมหมายของนาฏยศัพท์แล้ว นักเรียนสามารถ
                                1. บอกความหมายของนาฏยศัพท์ได้
                                2. บอกชื่อท่านาฏยศัพท์ส่วนมือได้
                                3.  บอกชื่อท่านาฏยศัพท์ส่วนเท้าได้
                                4.  นำท่านาฏยศัพท์มือประดิษฐ์ท่าระประกอบเพลงได้
 4. เนื้อหาสาระ
                                ความหมายของนาฏยศัพท์ส่วนเท้า
 5. กิจกรรมการจัดการเรียนรู้

                5.1 ขั้นนำ
ครูทำท่ารำให้นักเรียนดูและถามนักเรียนเคยว่ารู้จักท่ารำนี้หรือไม่มีชื่อว่าท่าใด
แนวตอบ   ประเท้า   ยกเท้า

 5.2 ขั้นสอน
ครูอธิบายความหมายของนาฏยศัพท์ให้นักเรียนฟังอีกครั้งพร้อมกับคำถามและให้นักเรียนช่วยกันบอกชื่อของท่ารำส่วนมือที่เรียนไปแล้วจากนั้นครูอธิบายและสาธิตท่ารำส่วนเท้า ให้นักเรียนรู้จักส่วนของเท้าทั้ง 3ส่วนคือนิ้วเท้า  จมูกเท้า และส้นเท้าที่จำเป็นสำหรับการทำนาฏยศัพท์ส่วนเท้าให้นักเรียนดู จากนั้นให้ดูใบความรู้ประกอบว่ามีท่าใดบ้างแล้วให้นักเรียนปฏิบัติตามครูทีละท่าของส่วนเท้า จนชำนาญพร้อมครูคือ  ท่าประเท้า   ยกเท้า   ก้าวเท้า  เปิดส้นเท้า  กระทุ้งเท้า    กระดกเท้า    จรดเท้า   ซอยเท้า  และครูคอยแนะนำท่าที่ถูกต้องให้กับนักเรียนโดยเฉพาะระดับ ของเท้าที่ยก  ตำแหน่งของการก้าวเท้าการย่อ  การทรงตัวเวลากระดกเพื่อให้ได้ท่ารำที่ถูกต้องสวยงาม
                5.3 ขั้นสรุป
1.       ครูซุ่มเรียกถามความหมายของนาฏยศัพท์ว่าคืออะไร
2.       ครูให้นักเรียนปฏิบัติท่ารำส่วนเท้าตามคำสั่ง
3.       นักเรียนทำใบงานสรุปความรู้เรื่องนายศัพท์ส่วนเท้า
 6. สื่อและแหล่งการเรียนรู้
                6.1 สื่อการเรียนรู้
1. ใบความรู้
2. สมุด
3. ท่ารำส่วนเท้า
                6.2 แหล่งการเรียนรู้
                1. อินเทอร์เน็ต
                2. หนังสือเรียนดนตรี - นาฏศิลป์  มัธยมศึกษาปีที่  2
 7. การวัดผลประเมินผล
                7.1 การสังเกตจากแบบบันทึกการสังเกต
                7.2 จากการตอบคำถาม
 8. วิธีการสอน/รูปแบบการสอน/กระบวนการเรียนรู้ที่ใช้
                1. การสอนโดยใช้การอภิปราย
                2. การศึกษาด้วยตนเอง

แผนการสอน ม.2


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  รายวิชานาฏศิลป์                     
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่    2
ภาคเรียนที่  1      ปีการศึกษา   2555     
เรื่อง ประวัตินาฏศิลป์ไทย

1.สาระสำคัญ 
       นาฏศิลป์ไทยเกิดจากการแสดงของชาวบ้านซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่ทรงคูณค่าแฝงไปด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นของแต่ละภาคเกิดจากการเคลื่อนไหวร่างกายแขนขาไปตามจังหวะนาฏศิลป์ไทยแบ่งประเภทการแสดงออกเป็น  ประเภทคือ  รำ  ระบำ  ฟ้อน เซิ้ง    โขน และละคร ซึ่งแต่ละประเภทจะมีความงดงามต่างกันไปตามหลักของการแสดงและประเภทของการแสดง
2. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
      สืบค้นข้อมูล  อภิปรายและอธิบายความหมายและประเภทการแสดงนาฏศิลป์ไทย
3. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
      เมื่อนักเรียน เรียนรู้ประเภทการแสดงนาฏศิลป์ไทยแล้ว นักเรียนสามารถ
                1. บอกประวัติที่มาของการแสดงนาฏศิลป์ไทยได้
                2. บอกประเภทของการแสดงนาฏศิลป์ไทยได้
                3. ยกตัวอย่างชุดการแสดงตามประเภทได้
4. เนื้อหาสาระ
                  ประวัติและ ประเภทการแสดงนาฏศิลป์ไทย
5. กิจกรรมการจัดการเรียนรู้
        5.1 ขั้นนำ
              ครูถามนักเรียนว่าเคยชมการแสดงนาฏศิลป์หรือไม่และต่างจากการแสดงเต้นทั่วไปตรงไหน
แนวตอบ   การแสดงนาฏศิลป์มีท่าที่อ่อนช้อยสวยงาม      การเต้นมีจังหวะสนุกสนานเต้นตามใจ
        5.2 ขั้นสอน
              ครูอธิบายประวัตินาฏศิลป์ไทยและประเภทของการแสดงนาฏศิลป์ไทยให้นักเรียนฟังทั้ง  6  ประเภทพร้อมกับยกตัวอย่างการแสดงของแต่ละประเภทให้เพื่อความเข้าใจโดยเริ่มจากประเภท  รำ   ระบำ   ฟ้อน   เซิ้ง  โขน  และละคร ซึ่งแต่ละประเภทยังแบ่งประเภทย่อยๆ อีกตามประเภทของตนเอง โดยให้นักเรียนจดเพิ่มเติมลงในสมุด พร้อมตัวอย่างประกอบคำอธิบายเพื่อนักเรียนจะได้เข้าใจมากยิ่งขึ้นจากนั้นครูให้นักเรียนจับกลุ่มทำรายงานประเภทของการแสดงมากลุ่มละ  1 เรื่อง เพื่อมารายงานหน้าชั้นเรียนจะได้ทราบข้อมูลมากยิ่งขึ้นในแต่ละประเภท
          5.3 ขั้นสรุป
 1.   ครูให้นักเรียนบอกประวัติของการแสดงนาฏศิลป์ไทย
 2.   ครูให้นักเรียนยกตัวอย่างประเภทของการแสดงนาฏศิลป์ไทย
 3.   นักเรียนทำรายงานมาส่งเป็นกลุ่ม
 6. สื่อและแหล่งการเรียนรู้
                6.1 สื่อการเรียนรู้
1. ประเภทการแสดงนาฏศิลป์ไทย
2. สมุด
3.  รายงาน
                6.2 แหล่งการเรียนรู้
                1. อินเทอร์เน็ต
                2. หนังสือเรียนดนตรี - นาฏศิลป์  มัธยมศึกษาปีที่  2
 7. การวัดผลประเมินผล
                7.1 การสังเกตจากแบบบันทึกการสังเกต
                7.2 จากการตอบคำถาม
 8. วิธีการสอน/รูปแบบการสอน/กระบวนการเรียนรู้ที่ใช้
                1. การสอนโดยใช้การอภิปราย
                2. การศึกษาด้วยตนเอง