วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แผนการสอนแบบผสมผสาน

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6
กลุ่มสาระการเรียนรู้    ศิลปะ           รายวิชา    นาฏศิลป์                    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่    2
ภาคเรียนที่  1      ปีการศึกษา   2556                                                    จำนวน     2       ชั่วโมง
เรื่อง รำวงมาตรฐาน

1.มาตรฐานการเรียนรู้
                                มาตรฐาน ศ 3.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม           เห็นคุณค่า ของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
2.ตัวชี้วัด
                                1. เปรียบเทียบลักษณะเฉพาะของ การแสดงนาฏศิลป์จากวัฒนธรรมต่างๆ
2. ระบุหรือแสดงนาฏศิลป์นาฏศิลป์พื้นบ้าน ละครไทยละครพื้นบ้านหรือมหรสพอื่นที่เคยนิยมกัน ในอดีต
                               
3.สาระสำคัญ 
รำวงมาตรฐานเดิมคือการแสดงรำโทนเป็นการแสดงของชาวบ้านในแถบภาคกลางซึ่งมีมานานในสมัยสงครามโลกครั้งที่  2  ต่อมากรมศิลปากรได้ปรับปรุงรำโทนขึ้นใหม่ในปี  พ.. 2487  โดยนำท่ารำมาจากการรำแม่บทแต่งทำนองเนื้อเพลงใหม่เปลี่ยนชื่อมาเป็นรำวงมาตรฐานจนถึงปัจจุบันมีทั้งหมด  10  เพลงซึ่งแต่ละเพลงจะมีท่ารำเฉพาะของแต่ละเพลง โดยครูให้นักเรียนดูลักษณะและวิธีการแสดงรูปแบบของการรำวงมาตรฐานจาก  VCD การแสดงรำวงมาตรฐาน

 4. เนื้อหาสาระ
                                4.1 ประวัติความเป็นมาของรำวงมาตรฐาน
                                4.2 ท่ารำในเพลงรำวงมาตรฐาน
                                4.3 การแต่งกายและรูปแบบของการแสดงรำวงมาตรฐาน
5. สมรรถนะที่สำคัญ
1.  ความสามารถในการสื่อสาร
2.  ความสามารถในการคิด
3.  ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
  
6. คุณลักษณ์อันพึงประสงค์
1.  มีวินัย
2.  ใฝ่เรียนรู้
3.  มุ่งมั่นในการทำงาน
4.  รักความเป็นไทย
5.  มีจิตสาธารณะ
                               
7. การบูรณาการกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1.ความพอเพียง
                                1.1  ความพอประมาณ
- ใช้เวลาในการศึกษาประเภทการแสดงนาฏศิลป์ไทยรำวงมาตรฐาน
                                1.2  ความมีเหตุผล
- ยอมรับเนื้อหาที่ศึกษาว่ามาจากเรื่องในชีวิตจริงของชาวบ้านเป็นการละเล่นเพื่อผ่อนคลายจากการทำงานหนักและสงคราม
                                                - ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์จากการค้นคว้าข้อมูลในอินเตอร์เน็ต
                                1.3 การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
- นำความรู้ที่ศึกษาไปใช้ในชีวิตประจำวันและพัฒนาตนเองให้มีความสามารถมีความกล้าแสดงออกอย่างมั่นใจ

2. คุณธรรมกำกับความรู้
                                2.1 เงื่อนไขคุณธรรม
                                                - ใช่สติ ปัญญาและความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม / ความสามัคคีภายในกลุ่ม
                                            - ใฝ่รู้ใฝ่เรียน
      - มุ่งมั่นในการทำงาน
      - ชื่นชมเห็นคุณค่าของประเภทการแสดงนาฏศิลป์ไทย
                                2.2. เงื่อนไขความรู้
                                                - ศึกษาประเภทการแสดงนาฏศิลป์ไทยรำวงมาตรฐาน
                                                - จำแนกประเภทการแสดงนาฏศิลป์ไทยรำวงมาตรฐาน
                                                       - รอบรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของรำวงมาตรฐาน

8. ชิ้นงาน/ภาระงาน
                1.ปฏิบัติการขับร้องเพลงงามแสงเดือนและเพลงชาวไทย
2.ปฏิบัติการแสดงรำวงมาตรฐานเพลงงามแสงเดือนและเพลงชาวไทย
9. กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน
ขั้นสอน
การเรียนรู้แบบผสมผสาน
ในชั้นเรียนปกติ
บนเว็บบล๊อก
ขั้นนำ
1. ครูให้นักเรียนบอกประเภทของการแสดงของชาวบ้านที่รู้จักหรือพบเห็นว่ามีการแสดงใดบ้าง
1.นักเรียนค้นคว้าประเภทของการแสดงของชาวบ้านในอดีตจากอินเตอร์เน็ต แล้วแสดงความคิดเห็นกับเพื่อนบันทึกข้อสรุปไว้ในเว็บบล๊อก
ขั้นให้ประสบการณ์
1.ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเพลงรำวงมาตรฐานให้นักเรียนตอบจากนั้นครูอธิบายประวัติตั้งแต่อดีตซึ่งเป็นการละเล่นของชาวบ้านจนถึงปัจจุบันและโอกาศที่ใช้ในการแสดงรวมถึงรูปแบบการแต่งกายให้นักเรียนฟัง
1.นักเรียนศึกษาค้นคว้าประวัติรำวงมาตรฐานและรูปแบบการแสดงจากอินเตอร์เน็ตแล้วอธิบายรูปแบบวิธีการแสดงรำวงมาตรฐานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันว่าแตกต่างกันหรือไม่และนักเรียนเห็นคุณค่าของการแสดงเพลงรำวงอย่างไรให้บันทึกความคิดเห็นไว้ในเว็บบล๊อก

2.ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มละ 5 คน ช่วยกันศึกษาใบความรู้เนื้อเพลงงามแสงเดือนว่ามีความหมายว่าอย่างไรให้เวลาประมาณ 2 นาทีจากนั้นครูตั้งคำถามเพื่อถามนักเรียน และครูสาธิตการขับร้องเพลงให้นักเรียนร้องตามจนเกิดความชำนาญ
2.นักเรียนศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมความหมายของเนื้อเพลงงามแสงเดือนจากอินเตอร์เน็ตและฝึกขับร้องจากคลิปวิดิโอ การแสดงเพลงงามแสงเดือนแล้วฝึกร้องกับเพื่อน

3.ครูให้นักเรียนขับร้องเพลงงามแสงเดือนพร้อมกันโดยครูสุ่มเรียกออกมาร้องทีละกลุ่ม


4.ครูสาธิตท่ารำเพลงงามแสงเดือน(ท่าสอดสร้อยมาลา)อธิบายขั้นตอนการปฏิบัติให้นักเรียนฟังและปฏิบัติท่ารำตามครูทีละท่าโดยแบ่งเป็นชายหญิงจับคู่กันและสาธิตการเดินวนคู่ของตนเองการเปลี่ยนมือให้นักเรียนฝึกจนเกิดความชำนาญ จากนั้นให้นักเรียนรำพร้อมกันและตั้งคำถามถึงการเดินวนคู่ว่าชายปฏิบัติอย่างไร หญิงปฏิบัติอย่างไร
4.นักเรียนศึกษาท่ารำจากคลิบวิดิโอเพลงงามแสงเดือนและฝึกท่ารำตามแบบอย่างจนเกิดความชำนาญ

5.ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มละ5 คนศึกษาใบความรู้เนื้อเพลงชาวไทยว่ามีความหมายว่าอย่างไรให้เวลาประมาณ 2 นาที และนำความหมายของเพลงไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรโดยให้นักเรียนช่วยกันตอบ


6.ครูสาธิตการขับร้องเพลงชาวไทยให้นักเรียนฟังแล้วให้นักเรียนขับร้องเพลงตามครูทีละท่อนจนนักเรียนมีความชำนาญมากขึ้น จากนั้นให้นักเรียนขับร้องเพลงพร้อมกัน
6. .นักเรียนศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมความหมายของเนื้อเพลงชาวไทยจากอินเตอร์เน็ตและฝึกขับร้องจากคลิปวิดิโอ แล้วฝึกร้องกับเพื่อน

7.ครูสาธิตท่ารำเพลงชาวไทยพร้อมบอกชื่อท่ารำว่าใช้ท่าชักแป้งผัดหน้าให้นักเรียนทราบว่าหญิงจะต้องเอียงมองชายแล้วให้นักเรียนฝึกปฏิบัติตามครูทีละขั้นตอนจนนักเรียนปฏิบัติท่ารำเองได้โดยครูให้ปฏิบัติท่ารำพร้อมกันทั้งห้อง
7.นักเรียนศึกษาท่ารำจากคลิบวิดิโอเพลงชาวไทยและฝึกท่ารำตามแบบอย่างจนเกิดความชำนาญและถ่ายทอดความรู้สู่เพื่อนที่ยังปฏิบัติไม่ได้จนปฏิบัติไปพร้อมกันได้

8.ครูอธิบายรูปแบบของการแสดงเพลงรำวงว่าผู้แสดงต้องรำเดินวนเป็นวงกลมกันจับคู่ชายหญิงโดยเดินวนตามเข็มนาฬิกาลักษณะการรำเป็นการเกี้ยวพาราสีกันโดยก่อนที่จะรำผู้แสดงชายหญิงจะต้องทำความเคารพด้วยการไหว้เสียก่อนจึงเริ่มรำ
8. นักเรียนศึกษารูปแบบของการแสดงเพลงรำวงมาตรฐานว่ามีรูปแบบการแสดงอย่างไรให้บันทึกไว้ในเว็บบล๊อก

9.ครูให้นักเรียนจับคู่ชายหญิงโดยให้เป็นวงกลมจากนั้นครูเปิดแถบบันทึกเสียงเพลงรำวงมาตรฐานเพลงงามแสงเดือนและเพลงชาวไทยเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกรำตามจังหวะของเพลงโดยครูปฏิบัติท่ารำไปพร้อมกับนักเรียนเพื่อเป็นแนวทางให้นักเรียนโดยให้นักเรียนปฏิบัติท่าตามที่ฝึกใครเป็นชายใครเป็นหญิง จากนั้นครูสุ่มเรียกออกมาสาธิตหน้าชั้นเรียนทีละ 4 คู่
9.ครูให้นักเรียนฝึกปฏิบัติท่ารำจากคลิปวิดิโอเพลงรำวงมาตรฐานเพื่อเป็นการทบทวนบทเรียน
ขั้นสรุป
1.ครูให้นักเรียนสรุปที่มาของการแสดงรำวงมาตรฐานพร้อมทั้งรูปแบบของการแสดงโอกาศที่ใช้ในการแสดงและการนำไปใช้ในอนาคตว่านักเรียนจะนำไปใช้ได้อย่างไรมีวิธีการเผยแพร่ได้ด้วยวิธีไหน และวิธีการรับชมการแสดงนอกจากอินเตอร์เน็ตนักเรียนจะชมได้จากที่ใด
1.นักเรียนบันทึกสรุปที่มาของการแสดงรำวงมาตรฐานพร้อมทั้งรูปแบบของการแสดงโอกาศที่ใช้ในการแสดงและการนำไปใช้ในอนาคตว่านักเรียนจะนำไปใช้ได้อย่างไรมีวิธีการเผยแพร่ได้ด้วยวิธีไหน และวิธีการรับชมการแสดงนอกจากอินเตอร์เน็ตนักเรียนจะชมได้จากที่ใดโดยให้แลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนไว้ในเว็บบล๊อก

2.ครูสอบปฏิบัติการขับร้องเพลงและปฏิบัติท่ารำของเพลงทั้งสองโดยให้นักเรียนขับร้องเพลงเองรำเองโดยสอบปฏิบัติ 4 ทิศ



สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1.ประวัติความเป็นมาของรำวงมาตรฐาน
2.ใบความรู้ที่ 1 รำวงมาตรฐาน เพลงที่ 1 งามแสงเดือน
3.ใบความรู้ที่ 2 รำวงมาตรฐาน เพลงที่ 2ชาวไทย
4.ท่ารำสอดสร้อยมาลา , ท่ารำชักแป้งผัดหน้า
5.เครื่องบันทึกเสียง
6.แถบบันทึกเสียงเพลงรำวงมาตรฐาน
7.หนังสือเรียนดนตรี-นาฏศิลป์ มัธยมศึกษาปีที่ 2
8.อินเตอร์เน็ต




10. การวัดผลประเมินผล
1. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
2. ตรวจแบบทดสอบ
3. การปฏิบัติท่ารำ


11. บันทึกผลหลังสอน
                ผลที่เกิดกับผู้เรียน
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
                ปัญหาและอุปสรรค
.............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
                แนวทางแก้ไข
..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................


                                                                                                                                ลงชื่อ .........................................ผู้สอน
                                                                                                                                   (.................................................)
                                                                                                                                     วันที่.........../................/............         





แบบประเมิน การแสดงรำวงมาตรฐานเพลงงามแสงเดือน/เพลงชาวไทย

เกณฑ์การประเมิน
ระดับคะแนน
4
(10 คะแนน)
3
(9 คะแนน)
2
(7-8 คะแนน)
1
(5-6 คะแนน)
ปฏิบัติท่ารำวงเพลง
งามแสงเดือนและเพลงชาวไทย
ปฏิบัติท่ารำวงเพลงงามแสงเดือนและเพลงชาวไทยร่วมกับผู้อื่นได้และสามารถแก้ปัญหาในระหว่างการปฏิบัติได้
ปฏิบัติท่ารำวงเพลงงามแสงและเพลงชาวไทยเดือนร่วมกับผู้อื่นได้ถูกต้องตามแบบอย่าง
ปฏิบัติท่ารำวงเพลงงามแสงเดือนและเพลงชาวไทยร่วมกับผู้อื่นได้ถูกต้องตามแบบอย่าง โดยมีครูหรือผู้อื่นแนะนำบ้าง
ปฏิบัติท่ารำวงเพลงงามแสงเดือนและเพลงชาวไทยร่วมกับผู้อื่นได้ตามที่ครูแนะนำเท่านั้น




















ใบความรู้ที่ ๑
รำวงมาตรฐาน เพลงที่ ๑ งามแสงเดือน

________________________________________________________

เนื้อร้อง                                 จมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันทน์)
ทำนอง                  อาจารย์มนตรี ตราโมท
ท่ารำ                      สอดสร้อยมาลา

เนื้อเพลง
                งามแสงเดือนมาเยือนส่องหล้า                        งามใบหน้าเมื่ออยู่วงรำ (2 เที่ยว)
เราเล่นเพื่อสนุก                                                                  เปลื้องทุกข์วายระกำ
ขอให้เล่นฟ้อนรำ                                                                เพื่อสามัคคีเอย

ความหมายเพลง
                งามแสงเดือนมาเยือนส่องหล้า - ท้องฟ้าจะงดงามเมื่อพระจันทร์ส่องแสง
                งามใบหน้าเมื่ออยู่วงรำ - ผู้หญิงก็งดงามหากได้รำอยู่ในวงรำ
                เราเล่นเพื่อสนุก - พวกเราละเล่นรำวงอย่างสนุกสนานไม่มีทุกข์
                เปลื้องทุกข์วายระกำ - ละทิ้งความทุกข์ความไม่สบายใจออกไป
                ขอให้เล่นฟ้อนรำเพื่อสามัคคีเอย - การรำวงนี้ก็เพื่อให้เกิดความสามัคคี














ใบความรู้ที่ ๒
รำวงมาตรฐาน เพลงที่ ๒ ชาวไทย

________________________________________________________

เนื้อร้อง                                 จมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันทน์)
ทำนอง                  อาจารย์มนตรี ตราโมท
ท่ารำ                 ชักแป้งผัดหน้า

เนื้อเพลง
                ชาวไทยเจ้าเอ๋ย                                     ขออย่าละเลยในการทำหน้าที่
การที่เราได้เล่นสนุก                                           เปลื้องทุกข์สบายอย่างนี้
เพราะชาติเราได้เสรี                                           มีเอกราชสมบูรณ์
เราจึงควรช่วยชูชาติ                                            ให้เก่งกาจเจิดจำรูญ
เพื่อความสุขเพิ่มพูน                                          ของชาวไทยเราเอย

ความหมายเพลง
                หน้าที่ที่ชาวไทยพึงมีต่อประเทศชาตินั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนควรกระทำ อย่าได้ละเลยไปเสีย ในการที่เราได้มาเล่นรำวงกันอย่างสนุกสนาน ปราศจากทุกข์โศกทั้งปวงนี้ก็เพราะว่า ประเทศไทยเรามีเอกราชประชาชนมีเสรีในการ จะคิดจะทำสิ่งใด ๆ ทั้งนั้น เราจึงควรช่วยกันเชิดชูชาติไทยให้รุ่งเรืองต่อไป เพื่อความสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไปของไทยเราตลอด









แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-Test)
ชื่อ ______________________ นามสกุล_______________ เลขที่______ ชั้น _______

ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย  X  ทับตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้อง                     
1.  ข้อใดใช้ท่ารำสัมพันธ์กับบทเพลง
ก.  เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า ท่ารำช้างประสานงา
ข.  เพลงหญิงไทยใจงาม ท่ารำชะนีร่ายไม้
ค.  เพลงรำซิมารำ ท่ารำสอดสร้อยมาลา
ง.  เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ ทำรำรำยั่ว

2.  เพลงงามแสงเดือนใช้ท่ารำใด
ก.  ท่ารำจ่อเพลิงกาฬ
ข.  ท่ารำสอดสร้อยมาลา
ค.  ท่ารำยูงฟ้อนหาง
ง.  ท่ารำรำส่าย

3.  ท่ารำสอดสร้อยมาลาแปลง เป็นท่ารำของเพลงใด
ก.  เพลงรำซิมารำ
ข.  เพลงชาวไทย
ค.  เพลงคืนเดือนหงาย
ง.  เพลงดอกไม้ของชาติ

4.  เพลงงามแสงเดือนมีความหมายเกี่ยวกับเรื่องใด
ก.  การรำเพื่อคลายความทุกข์และเพื่อความสามัคคี
ข.  การรำที่มีแต่ความทุกข์และเพื่อความสามัคคี
ค.  การรำเฉพาะวันที่มีแสงจันทร์เท่านั้น
ง.  การรำที่เน้นแต่ความสนุกสนาน

5.  การรำวงมาตรฐานเพลงบูชานักรบเที่ยวที่สองจะใช้ท่ารำใด
ก.  ท่ารำแขกเต้าเข้ารังและผาลาเพียงไหล่
ข.  ท่ารำขัดจางนางและจันทร์ทรงกลด
ค.  ท่ารำพรหมสี่หน้าและยูงฟ้อนหาง
ง.  ท่ารำล่อแก้วและท่าขอแก้ว

6.  รำวงมาตรฐานนิยมเล่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2  ระหว่างปี พ.ศ. ใด
ก.  พ.ศ. 2485-2489
ข.  พ.ศ. 2488-2498
ค.  พ.ศ. 2484-2488
ง.  พ.ศ. 2483-2487

7.  การเคลื่อนไหวขณะรำวงมาตรฐานควรมีลักษณะอย่างไร
ก.  เข้มแข็ง
ข.  อ่อนช้อย
ค.  กล้าหาญ
ง.  อ่อนไหว

8.  บุคคลใดเป็นผู้แต่งเพลงงามแสงเดือน
ก.  จอมพล ป.พิบูลสงคราม
ข.  มนตรี  ตราโมท
ค.  ชิ้น  ศิลปบรรเลง
ง.  จมื่นมานิตย์นเรศ

9.  รำวงมาตรฐานมีวิวัฒนาการมาจากการแสดงในข้อใด
ก.  การเล่นรำโทน
ข.  การเล่นละคร
ค.  การร้องเพลง
ง.  การฟ้อน

10.  ท่ารำสอดสร้อยมาลาต้องใช้นาฏยศัพท์ใด
ก.  กระดกเท้า
ข.  ประเท้า
ค.  ตั้งวง
ง.  ล่อแก้ว





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น