วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แผนการสอน ม.3

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  ชั้น  มัธยมศึกษาปีที่ 3
หน่วยการเรียนรู้ที่  1  โครงสร้างบทละคร
แผนการเรียนรู้ที่  1
ตัวชี้วัด
1.วิเคราะห์โครงสร้างของบทละครไทย
2.วิเคราะห์ความหมายและประเภทของบทละครและศัพท์ทางการละคร
3.วิเคราห์ลักษณะและนิสัยของตัวละคร
4.อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวละครในบทละครกับชีวิตจริงในสถานะการณ์ปัจจุบัน
5.ใฝ่เรียนรู้
6.มุ่งมั่นในการทำงาน
เนื้อหาสาระ   
1.โครงสร้างของบทละครไทย
2.ความหมายและประเภทของบทละครไทย
3. ศัพท์ทางการละคร
4. ลักษณะและนิสัยของตัวละคร
5. อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวละครในบทละครกับชีวิตจริงในสถานการณ์ปัจจุบัน

การบูรณาการกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1.ความพอเพียง
                                1.1  ความพอประมาณ
- ใช้เวลาในการศึกษาโครงสร้างของบทละครไทย
                                1.2  ความมีเหตุผล
- ยอมรับบทบาทสมมุติที่ศึกษาว่ามาจากเรื่องในชีวิตจริง
                                                - ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
                                                - บอกศัพท์ทางการละคร
                                                - โครงเรื่องเป็นการเล่าเรื่องแบบใหน
                                1.3 การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
                                                - นำทักษะการดำรงค์ชีวิตของตัวละครที่ดีไปใช้ในชีวิตประจำวัน
2. คุณธรรมกำกับความรู้
                                2.1 เงื่อนไขคุณธรรม
                                                - ความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม
                                                - ความสามัคคีภายในกลุ่ม
                                - ใฝ่รู้ใฝ่เรียน
- มุ่งมั่นในการทำงาน
- ชื่นชมเห็นคุณค่าของบทละครไทย
                                2.2. เงื่อนไขความรู้
                                                - ศึกษาโครงสร้างของบทละครไทย
                                                - จำแนกประเภทของละคร
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ( ใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบหน่วย )
ขั้นนำ
 1. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนจำนวน  10  ข้อ
 2. ขั้นนำเข้าสู่หน่วย  : ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับละครไทยที่นักเรียนเคยดูตามหัวข้อต่อไปนี้
                2.1.  นักเรียนเคยดูละครเรื่องใดบ้าง
                2.2.  ละครที่ดูเป็นละครประเภทใด
                2.3.  ตัวละครที่ดูในเรื่องมีตัวละครใดบ้าง
 3.  ขั้นวางแผนร่วมกันในการปฏิบัติกิจกรรม
                3.1. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม ๆ ละ  4  คน แต่ละกลุ่มประกอบด้วยนักเรียนเก่ง  ปานกลางและอ่อนตามสัดส่วน  1:2:1
                3.2  ครูนักเรียนร่วมกันกำหนดความมุ่งหมายของการเรียนรู้ซึ่งนักเรียนจะเรียนรู้กี่ยวกับ
                                3.2.1.  โครงสร้างของบทละครไทย
                                3.2.2.  ความหมายและประเภทของบทละครไทย
                                3.2.3.  ศัพท์ทางการละคร
                                3.2.4  ลักษณะและนิสัยของตัวละคร
                                3.2.5  อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวละครในบทละครกับชีวิตจริงในสถานการณ์ปัจจุบัน
                3.3  ครูและนักเรียนช่วยกันตั้งปัญหาดังนี้
                                3.3.1. บทละครหมายถึงอะไรและแบ่งเป็นกี่ประเภท
                                3.3.2. โครงสร้างของบทละครไทยมีอะไรบ้าง
                                3.3.3. ศัพท์ทางการละครมีอะไรบ้าง
                                3.3.4. ตัวละครแต่ละตัวมีลักษณะนิสัยอย่างไรบ้าง
                3.4  แบ่งหัวข้อปัญหาและเสนอสื่อการสอนที่จะใช้ในการแก้ปัญหาให้นักเรียนแต่ละกลุ่มไปศึกษาดังนี้
                กลุ่มที่  1  ศึกษาเรื่องความหมายของบทละครและประเภทของบทละครไทยโดยศึกษาจากหนังสือสาระนุกรมไทยสำหรับเยาวชน หนังสือแบบเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี – นาฏศิลป์ )  ใบความรู้ความหมายของบทละครและประเภทของบทละครไทย ในห้องสมุด หรือค้นหาทาง Internet  
                กลุ่มที่  2  ศึกษาโครงสร้างของบทละครว่ามีอะไรบ้างโดยศึกษาจากสาระนุกรมไทยสำหรับเยาวชน หนังสือแบบเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี – นาฏศิลป์ )  ใบความรู้โครงสร้างของบทละคร
 ในห้องสมุด หรือค้นหาทาง Internet  ( www.google.com )
                กลุ่มที่  3 ศึกษาเรื่องศัพท์ที่ใช้ว่ามีอะไรบ้างโดยให้นักเรียนไปเลือกอ่านบทละครที่นักเรียนชื่นชอบ  1-2 เรื่องจากหนังสือวรรณคดีไทยหรือหนังสือที่เป็นเรื่องเฉพาะบทละครเรื่องนั้น ๆ หรือค้นหาทาง Internet  ( www.google.com )หรือสัมภาษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น 
                กลุ่มที่  4 ศึกษาลักษณะนิสัยของตัวละครโดยให้นักเรียนเลือกอ่านบทละครที่นักเรียนชื่นชอบ1-2 เรื่องจากหนังสือวรรณคดีไทยหรือหนังสือที่เป็นเรื่องเฉพาะบทละครเรื่องนั้น ๆ แล้ววิเคราะห์ลักษณะนิสัยของตัวละครในเรื่องนั้นๆ
                4. ขั้นลงมือทำงาน
                                แต่ละกลุ่มสำรวจและรวบรวมความรู้ต่าง ๆ ตามหัวข้อที่ได้รับจากห้องสมุดหรือแหล่งเรียนร้อื่น ๆ ที่กำหนดและบันทึกผลการปฏิบัติงานลงในใบงานที่  1  แบบบันทึกผลการศึกษา
                5. ขั้นเสนอกิจกรรม : แต่ละกลุ่มนำเสนอกิจกรรมตามหัวข้อที่ได้รับดังนี้
                                5.1. รายงานผลการปฏิบัติงานด้วยวาจาทีละกลุ่ม ๆ ละไม่เกิน 3 นาทีและให้ผู้ฟังซักถามและเสนอแนะเพิ่มเติม
                                5.2  นำผลการรายงานที่ปรับปรุงแล้วไปจัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
6. ขั้นสรุป
ขั้นประเมินผล : นักเรียนทุกคนร่วมกันอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวละครในบทละครกับชีวิตจริงในสถานการณ์ปัจจุบันว่าเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไรพร้อมระบุเหตุผลและยกตัวอย่างประกอบแล้วสรุกผลการอภิปรายเขียนเป็นรายงานส่งครูละ  1 ชิ้นงาน
   ครูให้นักเรียนสรุปข้อเปรียบเทียบโครงสร้างบทละครไทยกับละครโทรทัศน์ลงในกระดาษว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
              1. หนังสือสาระนุกรมไทยสำหรับเยาวชน
2. หนังสือแบบเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี – นาฏศิลป์ ) ชั้น  .3
                3. หนังสือวรรณคดีไทย
                4. หนังสือที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับบทละครโดยเฉพาะ
                5. ใบความรู้โครงสร้างของบทละคร
                6. Internet  ( www.google.com )
                7. ห้องสมุดโรงเรียน
                8. ภูมิปัญญาท้องถิ่น
                9. ใบงานที่  1  แบบบันทึกผลการศึกษา
การวัด/ประเมินผล
                1. แบบทดสอบการวิเคราะห์โครงสร้างของบทละคร
2. แบบทดสอบการวิเคราะห์ความหมายและประเภทของบทละคร
3. แบบทดสอบการวิเคราะห์ศัพท์ทางการละคร
4. แบบทดสอบการวิเคราะห์ลักษณะและนิสัยของตัวละคร
5. แบบประเมินความสามารถในการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวละครในบทละครกับชีวิตจริงในสถานะการณืปัจจุบัน
6. แบบวัดคุณลักษณะการใฝ่เรียนรู้
7. แบบวัดคุณลักษณะความมุ่งมั่นในการทำงาน
กิจกรรเสนอแนะ
…………………………………………………………………………………….…………
………………………………………………………………………………………………
บันทึกหลังสอน
……………………………….......………………………………………………………..

1 ความคิดเห็น: